BSA รายงาน เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ใช้พีซีทั่วโลก จัดหาซอฟต์แวร์มาใช้งานแบบผิดกฎหมายอยู่ตลอดเวลา

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

เมื่อวันที่ 13 กันยายน ที่ผ่านมา BSA รายงานผลการสำรวจเกี่ยวกับพฤติกรรมและทัศนคติของผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) ที่มีต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์และทรัพย์สินทางปัญญา พบว่า เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ใช้พีซีทั่วโลก คิดเป็นร้อยละ 47 จัดหาซอฟต์แวร์มาใช้งานผ่านทางวิธีที่ผิดกฎหมายอยู่ตลอดเวลา และในประเทศกำลังพัฒนา จำนวนของผู้ใช้พีซีที่มีพฤติกรรมดังกล่าว ปรากฎออกมาเป็นตัวเลขที่สูงมาก กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการสำรวจครั้งสำคัญนี้ ผ่านทางบล็อก BSA TechPost ผู้ที่ทำการสำรวจครั้งนี้ให้แก่ บีเอสเอ คือ บริษัท Ipsos Public Affairs โดยสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้พีซี 15,000 คน ใน 32 ประเทศ รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ใช้พีซี 400 ถึง 500 คนในแต่ละประเทศ ทั้งแบบสัมภาษณ์สด และสัมภาษณ์ออนไลน์

การสำรวจครั้งนี้ พบว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนาจัดหาซอฟต์แวร์มาใช้งาน โดยผิดกฎหมายอยู่เป็นประจำ เช่น ซื้อหนึ่งไลเซ็นต์ สำหรับหนึ่งโปรแกรม สำหรับใช้งานคนเดียว แต่กลับมาติดตั้งโปรแกรมดังกล่าวลงบนคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง หรือดาวน์โหลดโปรแกรมจากเครือข่ายเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer Network) ต่างๆ แม้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เหล่านี้จะแสดงตนว่าสนับสนุนหลักการเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาก็ตาม จากจำนวน 32 ประเทศที่ทำการสำรวจ พบว่ามีประเทศในเอเชีย-แปซิฟิคอยู่ 9 ประเทศ และ 6 ใน 9 ได้แก่ จีน เวียดนาม มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ พบว่ามีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในระดับบุคคล อยู่ใน 10 อันดับแรก ของประเทศทั้งหมดที่ทำการสำรวจ
การสำรวจยังพบว่า ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ซึ่งมีจำนวนสูงมากในประเทศกำลังพัฒนา มีความเชื่อผิดๆ ว่าวิธีผิดกฎหมายที่ได้ซอฟต์แวร์มานั้น ในความเป็นจริงแล้ว เป็นวิธีที่ไม่ผิดกฎหมาย ขณะเดียวกัน ยังเชื่อว่าการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เป็นเรื่องปกติ และไม่เชื่อว่าจะถูกจับได้ ที่สำคัญ คือ ผู้บริหารในองค์กรธุรกิจทั่วโลก ต่างมีพฤติกรรมและความคิดเห็น ที่ไม่ต่างไปจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์เหล่านี้เลย สำหรับ 5 ประเทศในเอเชีย-แปซิฟิค พบว่าอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในระดับผู้บริหาร อยู่ใน 10 อันดับแรก ของประเทศทั้งหมดที่ทำการสำรวจ

“เมื่อปีที่ผ่านมา มีขโมยหลายร้อยล้านคนได้ขโมยซอฟต์แวร์ รวมเป็นมูลค่า 59,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ถึงตอนนี้ เราเข้าใจมากขึ้นแล้วว่า พวกเขาคิดอะไรอยู่” ประธานและเจ้าหน้าที่ผู้บริหารระดับสูงของบีเอสเอ มร. โรเบิร์ต ฮอลลีแมน กล่าว “หลักฐานที่ปรากฎนั้นชัดเจนมาก วิธีที่จะลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ได้ คือ ต้องให้ความรู้แก่องค์กรธุรกิจและบุคคลทั่วไป ว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกกฎหมาย – พร้อมเพิ่มการบังคับใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองทรัพยสินทางปัญญา เป็นการส่งสัญญาณไปยังตลาด เพื่อให้เกิดการชะลอตัวของการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์” ลินน์ บ๊อกซ์ซอล ผู้อำนวยการของบีเอสเอ ประจำเอเชีย-แปซิฟิค กล่าวว่า

“ผลการสำรวจชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงได้อย่างน่าสนใจทีเดียว ที่ว่าผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เป็นจำนวนมากอาจจะไม่ได้ตระหนักเลยว่า พวกเขากำลังทรยศต่อหลักการ และทำผิดกฎหมาย บีเอสเอยึดมั่นกับการดำเนินกิจกรรมที่เน้นไปที่การสร้างความตระหนัก และทำให้เกิดความเคารพในทรัพยสินทางปัญญามากขึ้น ทั้งทรัพยสินทางปัญญาที่เป็นของต่างชาติ และของคนในท้องถิ่นในแต่ละประเทศเอง เราเชื่อมั่นว่า การคุ้มครองทรัยพสินทางปัญญาที่เข้มแข็งจะสร้างคุณประโยชน์ให้แก่เศรษฐกิจของประเทศในเอเชียได้อย่างมากมาย ทั้งนี้ เพราะอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) มีส่วนสำคัญมากๆ ต่อการเติบโตของภูมิภาคนี้

จำนวนผู้ละเมิดลิขสิทธิ์แยกตามประเทศ

ประเทศ

ละเมิดเสมอ

ละเมิดบ่อย

รวมผู้ที่ละเมิดเป็นประจำ

จีน

42%

44%

86%

ไนจีเรีย

36%

46%

81%

เวียดนาม

22%

54%

76%

ยูเครน

16%

53%

69%

มาเลเซีย

22%

46%

68%

ไทย

15%

50%

65%

อินโดนีเซีย

14%

50%

65%

ซาอุดิอาระเบีย

23%

39%

62%

เกาหลีใต้

15%

45%

60%

เม็กซิโก

19%

41%

60%

บราซิล

14%

41%

55%

โคลัมเบีย

12%

43%

54%

ชิลี

13%

40%

53%

รัสเซีย

9%

43%

52%

สเปน

13%

37%

50%

โปแลนด์

15%

33%

48%

สาธารณรัฐเช็ค

10%

37%

47%

ตุรกี

13%

29%

43%

อาร์เจนตินา

10%

29%

39%

อิตาลี

11%

25%

37%

ออสเตรเลีย

11%

26%

37%

สหรัฐอเมริกา

8%

26%

34%

สวิตเซอร์แลนด์

5%

26%

31%

เนเธอร์แลนด์

5%

25%

30%

สหราชอาณาจักร

7%

23%

30%

ญี่ปุ่น

9%

20%

29%

สวีเดน

5%

24%

29%

อินเดีย

9%

19%

28%

แคนาดา

7%

20%

27%

ฝรั่งเศส

5%

21%

26%

เยอรมนี

6%

15%

21%

แอฟริกาใต้

5%

16%

20%

Share this post

Submit to FacebookSubmit to TwitterSubmit to LinkedIn