ข่าวล่าสุด

ขอเชิญ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศ เตรียมความพร้อมในการตรวจประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ 2568 ในหัวข้อ "สร้างเว็บไซต์เมนู ITA 2568" จำนวน 3 รุ่น 3 จังหวัด

โครงการสร้างเว็บไซต์เพื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นิตยสารโอเพนซอร์สทูเดย์ ร่วมกับ บริษัท ครีเอชั่น โปร จำกัด ขอเชิญ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาลตำบล (ทต.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เข้าร่วมอบรมทำเว็บไซต์เพื่อ เตรียมความพร้อมในการตรวจประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ 2568 ในหัวข้อ "สร้างเว็บไซต์เมนู ITA 2568" สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ เรียนตั้งแต่เริ่มต้น  ทดลองใช้เว็บไซต์ออนไลน์ไปใช้งานจริง พร้อมเครื่องมือฟรีออนไลน์และโอเพนซอร์ส เปิดอบรมจำนวน 3 รุ่น เวลา 9.00-16.00 น. ตั้งแต่เดือนมกราคม 2568 - กุมภาพันธ์ 2568 ค่าลงทะเบียน เพียง 3,000 บาท/ท่าน ลงทะเบียนด่วน! เพื่อรับหนังสือเชิญ โครงร่างหลักสูตร แบบตอบรับ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0863049545 แอดไลน์ได้

ข่าว

ธ.ค. 23, 2567

ขอเชิญ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศ เตรียมความพร้อมในการตรวจประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ 2568 ในหัวข้อ "สร้างเว็บไซต์เมนู ITA 2568" จำนวน 3 รุ่น 3 จังหวัด

โครงการสร้างเว็บไซต์เพื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นิตยสารโอเพนซอร์สทูเดย์ ร่วมกับ บริษัท… อ่านเพิ่ม
ก.ย. 26, 2567

อาลีบาบา คลาวด์ ร่วมมือกับ มจธ. เตรียมบุคลากรแห่งโลกอนาคตทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ตลาดแรงงานไทย ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

 กรุงเทพฯ วันที่ 26 กันยายน 2567 - อาลีบาบา คลาวด์ ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัล… อ่านเพิ่ม

ข่าวเทคโนโลยี

ข่าวประชาสัมพันธ์

Facebook Page

ข่าวประกาศ

บก.ปอศ.ตรวจค้น 4 ร้านค้าย่านแฮปปี้แลนด์ จำหน่ายซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและแพร่กระจายมัลแวร์...ทีมงานนิตยสารโอเพนซอร์สทูเดย์ อยากให้หันมาใช้โอเพนซอร์ส OpenSource

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา ทางนิตยสารโอเพนซอร์สทูเดย์ OpenSource2day ได้รับแจ้งข่าวจาก กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าได้เข้าตรวจค้นร้านค้าที่จำหน่ายซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ 4 แห่งในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการป้องปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ ในการเข้าตรวจค้นครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจเน้นที่ร้านค้าซึ่งติดตั้งซอฟต์แวร์เถื่อนลงบนคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ที่ลูกค้าเพิ่งซื้อ ซอฟต์แวร์ที่ขายกันในราคาเพียงไม่กี่ร้อยบาทแต่มักมีมัลแวร์และบอทเน็ตแฝงมาด้วย ทำให้ผู้ใช้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่างๆ ในโลกไซเบอร์ นี่เป็นวิธีที่ร้านค้าที่ใช้ในการสร้างรายได้มูลค่าหลายล้านบาท

ร้านค้าสองแห่งที่ถูกตรวจค้นตั้งอยู่ในศูนย์การค้าย่านถนนศรีนครินทร์ ส่วนอีกร้านหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ย่านแฮปปี้แลนด์ และร้านที่สี่ อยู่ในศูนย์การค้าย่านราชปรารภ พนักงานของร้านถูกตั้งข้อกล่าวหาติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ลงบนคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ ทำให้ตัวเครื่องอาจเผชิญกับมัลแวร์ตลอดจนความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอื่นๆ 

 

การเข้าตรวจค้นร้านค้าในศูนย์การค้าย่านถนนศรีนครินทร์ ตำรวจพบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์หลายรายการ ประกอบด้วย ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ 7 อัลติเมท (Microsoft Windows 7 Ultimate) และ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ โปรเฟสชั่นแนล พลัส 2010 (Microsoft Office Professional Plus 2010) พนักงานของร้านถูกตั้งข้อหาจำหน่ายซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในวงกว้าง และในการเข้าตรวจค้นในร้านค้าอื่นๆต่อมา ตำรวจพบว่าร้านค้าใช้วิธีเดียวกัน คือเสนอซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ให้แก่ลูกค้าที่ซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ พนักงานได้นำเสนอซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ของไมโครซอฟท์หลายรายการ ทั้งๆ ที่ซอฟต์แวร์บางตัวมีราคาจำหน่ายเพียงแค่ไม่กี่ร้อยบาท พนักงานและเจ้าของร้านเหล่านี้ถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ไทย และอาจถูกจำคุกระหว่าง 6เดือนถึง 4 ปี พร้อมทั้งถูกปรับเป็นจำนวนเงินตั้งแต่ 100,000 ถึง 800,000 บาท

 

เจ้าหน้าที่ตำรวจกล่าวว่าจะมุ่งปราบปรามทั้งร้านค้าปลีกที่จำหน่ายซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์และผู้ขายในรูปแบบออนไลน์ที่กำลังเพิ่มปริมาณมากขึ้น เมื่อต้นปีที่ผ่านมา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เรียกร้องให้ทุกคนร่วมมือกันลดการละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศไทยด้วยการรณรงค์ “ไม่ซื้อ ไม่ใช้ และไม่ขาย” และกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้สนองรับนโยบายโดยริเริ่มกิจกรรมต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ต่างๆ

 

แม้อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยลดลงอย่างมีนัยสำคัญในทศวรรษที่ผ่านมา แต่ยังคงมีความกังวลเรื่องความเชื่อมโยงระหว่างซอฟต์แวร์เถื่อนกับมัลแวร์และอาชญากรรมไซเบอร์ อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ของประเทศไทยลดลงจากร้อยละ 80 ในปี 2549 มาอยู่ที่ร้อยละ 60 ในปัจจุบัน

 

“ร้านที่ขายซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ทำให้ลูกค้าต้องเสี่ยงกับอาชญากรรมไซเบอร์” พ.ต.อ.วินัย วงษ์บุบผา รอง ผบก.ปอศ. กล่าว “เราพบว่ามีความเชื่อมโยงกันระหว่างซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย มัลแวร์ และอาชญากรรมไซเบอร์ เราจึงพยายามกำจัดการจำหน่ายซอฟต์แวร์เถื่อนตั้งแต่ที่ต้นตอ เราหวังว่าการเข้าตรวจค้นเหล่านี้จะกระตุ้นให้ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อตื่นตัวถึงความเสี่ยงที่ต้องเผชิญ”

 

ปัจจุบันประเทศไทยเสี่ยงกับการถูกโจมตีด้านโซเบอร์เป็นลำดับที่สองในกลุ่มอาเซียน ในปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์โจมตีทางไซเบอร์มากถึง 4,300 ครั้ง โดยร้อยละ 35 เป็นการปฏิบัติการของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประสงค์ร้าย (malicious software) ร้อยละ 26 เกิดจากการหลอกลวงให้โอนเงินหรือชำระเงินที่สร้างความเสียหาย และร้อยละ 23 เป็นเรื่องเจาะเข้าสู่เครือข่ายโดยไม่ได้รับสัญญาอนุญาต นอกจากนี้ ยังพบว่าคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 3 ล้านเครื่องจากทั้งหมด 8 ล้านเครื่องมีมัลแวร์บอทเน็ตแฝงอยู่ซึ่งทำให้ยากในการติดตามตัวผู้จู่โจม 

 

ทีมงานนิตยสารโอเพนซอร์สทูเดย์ แนะนำให้คนไทย หันมาใช้โอเพนซอร์ส OpenSource เพื่อทดแทนการละเมิดซอร์ฟแวร์เชิงพาณิชย์ดังกล่าว

 

Share this post

Submit to FacebookSubmit to TwitterSubmit to LinkedIn